ภาชนะรับแรงดัน ตามความหมายของกฎกระทรวงอุตสาหกรรม คือ "ภาชนะปิดที่มีความกดดันภายในภาชนะและภายนอกภาชนะแตกต่างกันมากกว่า 1 ½ เท่าของความดันบรรยากาศ(ณ ระดับน้ำทะเล)และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 103 มิลลิเมตร(ถ้าเป็นท่อ ประมาณ 4 นิ้วขึ้นไป)" บางท่านอาจสับสนกับภาษากฎหมายว่าต้องตรวจหรือไม่

ความดันบรรยากาศ (แรงกดอากาศ)ณ ระดับน้ำทะเล(ยิ่งสูงอากาศยิ่งเบาบาง)กำหนดให้ เป็น 1 บรรยากาศ หรือ 1 atm ( atmosphere) หรือเรียกว่า 1 บาร์ (barg.) อุปกรณ์ที่ต้องตรวจจึงเป็นภาชนะที่มีแรงดัน 1.5 barg. ขึ้นไป(ประมาณแรงดันลมยางรถเก๋ง 2 Barg.<29 -32 psi>ที่ส่วนใหญ่ใช้กัน)

ภาชนะรับแรงดันส่วนใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่พบ เป็น ถังลม (อุปกรณ์นิวแมติกส์) ถังอ๊อกซิเจน(งานเชื่อม ตัด)ถัง ไนโตรเจน (งานถนอมอาหาร งาน ตัด) ถัง แอมโมเนีย (ระบบทำความเย็น) ถัง ก๊าซ LPG (เชื้อเพลิง) ซึ่งถังเหล่านี้มีอายุการใช้งานเนื่องจากการถูกกัดกร่อนจากแรงดัน ความชื้น เป็นต้น จึงต้องมีการตรวจสอบ (ประกอบการวางแนวทางเลือกจำหน่ายถังตามสภาพการใช้งาน<ไม่ใช่อายุการใช้งาน>)และสนับสนุนงานระบบ เช่น ISO 14001 เป็นต้น

การตรวจสอบถัง(ภาชนะรับแรงดัน)ขั้นแรกทำการวัดความหนาเพื่อคำนวณการรับแรงดันของถังว่าความหนาเหลือเท่าไร กัดกร่อนเท่าไร อายุการใช้งานเหลือเท่าไรต้องกระทำก่อนการอัดน้ำหรือ hydrostatic test เพราะต้องอัดแรงดันไปถึง 1 ½ เท่าของแรงดันใช้งานตรวจสอบ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง safety valve , pressure gauge ถ้าชำรุด(ค่าทำงานเพี้ยนไป)หรือเสียจำเป็นต้องเปลี่ยน ทางทีมงานเข้าตรวจตามโรงงานต่างๆ ก็พบปัญหาทุกที่

safety valve เสีย ต้องทำการเปลี่ยน

safety valve เสีย ต้องทำการเปลี่ยน

pressure gauge เข็มค้างเสีย

cylinder 200 Bar ลมอัดแรงดันสูง

ตรวจภายในถังสารเคมี(อับอากาศ)

ตรวจวาล์วนิรภัย(หน้าแปลน)safety valve

ถังบรรจุสารเคมีดับเพลิง 20 บาร์


การตัดระบบก่อนอัดน้ำทดสอบ


ตรวจรีทรอท(Retort) หรือ ออโตเคลฟ (Auto Clave)


ตรวจถัง Cylinder แรงดันสูง


ตรวจถังแรงดันสารดับเพลิง


ตรวจทดสอบการทำงานวาล์วนิรภัย


ในการทดสอบเรามีอุปกรณ์พร้อมครับ

ชุดทดสอบ safety valve & pressure gauge

ชุดทดสอบ safety valve & pressure gauge

ชุดทดสอบความหนา UTM

งานตรวจรับถังนำ้ 100 คิว

งานตรวจถังพักลม

ทางทีมมีการตรวจสอบตามกฎหมาย และถูกต้องตามขั้นตอน ท่านใดสนใจทีมงานบริการของเราติดต่อได้ครับ